งานการจดทะเบียน

      เมื่อจะเริ่มต้นประกอบกิจการ จะจดทะเบียนแบบไหนดี
เมื่อท่านตัดสินใจว่าจะทำธุรกิจเป็นของตนเองและรู้ชัดแล้วว่าจะทำธุรกิจอะไร สิ่งที่ท่านต้องตัดสินใจต่อไป คือเลือกว่าจะดำเนิน ธุรกิจในรูปแบบใด ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็น ประเภทต่าง ๆ ซึ่งมีรูปแบบที่แตกต่างกันไป โดยเมื่อท่านได้ทราบข้อแตกต่างของรูปแบบ ธุรกิจแต่ละประเภทแล้วก็จะเป็นการง่ายสำหรับท่านที่จะตัดสินใจได้ว่า ธุรกิจของท่านควรดำเนินการในรูปแบบใด


บุคคลธรรมดา
หรืออีกนัยหนึ่ง คือ “ธุรกิจเจ้าของคนเดียว” ลักษณะของกิจการประเภทนี้คือ การตัดสินใจต่าง ๆ เป็นสิทธิของผู้เป็นเจ้าของ เพียงคนเดียว การตัดสินใจต่าง ๆ อยู่ในลักษณะ คิดคนเดียว ทำคนเดียว ซึ่งผลดีคือตัดสินใจง่ายและรวดเร็ว แต่ผลจากการคิดคนเดียว ไม่ว่าจะเป็นผลดี…ได้กำไร หรือเป็นผลเสีย….ขาดทุน ก็รับผลคนเดียวเต็ม ๆ ซึ่งลักษณะธุรกิจประเภทนี้จะดีมาก ถ้าเจ้าของไม่มีปัญหา เรื่องเงินทุนหมุนเวียน เพราะธุรกิจประเภทนี้ไม่สามารถระดมทุนจากใครได้

ลักษณะการเสียภาษี เป็นไปตาม “อัตราก้าวหน้า” ซึ่งหมายถึง ถ้ารายได้มาก ก็จะเสียภาษีมากโดยอัตราภาษี สูงสุด ถึง 37% ของกำไรหลังหักค่าใช้จ่าย

นั่นคือ ค่าใช้จ่ายจะถูกกำหนดไว้ เป็น 2 ลักษณะ คือ อัตราเหมา (กำหนดเป็นปอร์เซ็นต์ตายตัวตามประเภทของธุรกิจ) และค่าใช้จ่าย ตามจริง(ต้องอ้างอิงเอกสารค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่สรรพากรยอมรับได้ หลังจากนั้นจึงนำมาหักค่าลดหย่อนส่วนตัว จึงจะเป็นฐานภาษีสำหรับ คำนวณภาษีที่ต้องชำระ

นิติบุคคล
เป็นรูปแบบธุรกิจที่ตกลงทำกิจการร่วมกัน โดยมีวัตถุประสงค์จะแบ่งเป็นผลกำไร ตามอัตราส่วนที่แต่ละคนได้ลงทุน ซึ่งแบ่งได้ เป็น 2 ประเภท คือ

1.ห้างหุ้นส่วนสามัญ

• มีผู้เริ่มก่อการจัดตั้งบริษัท ไม่น้อยกว่า 2 คน• ลักษณะธุรกิจประเภทนี้ ไม่จำเป็นต้องเป็นนิติบุคคล• ผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนต้องรับผิดชอบในหนี้สินไม่จำกัดจำนวน• ถ้าไม่จดทะเบียนจะมีสถานะเป็นคณะบุคคล• ถ้าจดทะเบียน มีสถานะเป็นนิติบุคคล เรียกว่า “ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล"

การจัดทำบัญชีและเสียภาษี การเสียภาษีเงินได้ของคณะบุคคลจะเสียภาษีเงินได้เหมือนกับบุคคลธรรมดาที่แยกออกจากตัวบุคคล ถือเป็นบุคคลอีกคนหนึ่งตามมาตรา 56 วรรค (2) ของประมวลรัษฏากร นอกจากนี้เงินส่วนแบ่งกำไรจากห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ด้วย

2.ห้างหุ้นส่วนจำกัด

• ต้องจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล• ความรับผิดชอบของผู้เป็นหุ้นส่วนแบ่งเป็น 2 ประเภทคือ1. ผู้เป็นหุ้นส่วนรับผิดชอบในหนี้สินจำกัด ไม่เกินเงินที่ได้ลงทุนไป ซึ่งหุ้นส่วน ประเภทนี้จะไม่มีสิทธิในการตัดสินใจในกิจการ2. ผู้เป็นหุ้นส่วนรับผิดชอบในหนี้สิน “ไม่จำกัดจำนวน” ในที่นี้คือ “หุ้นส่วนผู้จัดการ”ซึ่งหุ้นส่วนประเภทนี้จะมีหน้าที่รับผิดชอบ และมีสิทธิเต็มที่ในการตัดสินใจใน เรื่องต่าง ๆ ของกิจการ

การจัดทำบัญชีและเสียภาษี มีหน้าที่ต้องจัดทำบัญชี เหมือนกรณีตั้งบริษัท และเสียภาษีตามอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล

3.บริษัทจำกัด มีลักษณะจำเพาะดังนี้คือ

• แบ่งเงินลงทุนเป็นหุ้นมีมูลค่าหุ้นละ เท่า ๆ กัน
• มีผู้เริ่มก่อการจัดตั้งบริษัท ไม่น้อยกว่า 3 คน
• ผู้ถือหุ้นรับผิดชอบไม่เกินจำนวนค่าหุ้นที่ยังชำระไม่ครบถ้วน
• มีสภาพเป็นนิติบุคคล• สามารถระดมทุนได้มากและง่าย
• ลักษณะการตัดสินใจในการบริหารงานเป็นในรูปของคณะกรรมการบริษัท จึงทำให้ได้รับความน่าเชื่อถือมากกว่าแบบบุคคลธรรมดา


4.บริษัท ชาวต่างชาติ

โดยที่เป็นการสมควรจัดตั้งศูนย์บริการวีซ่าและใบอนุญาตทำงาน เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่คนต่างด้าวซึ่งเข้ามาลงทุน คนต่างด้าวซึ่งเป็นผู้บริหาร ผู้ชำนาญการ หรือผู้เชี่ยวชายซึ่งเข้ามาทำงานในราชอาณาจักร คนต่างด้าวที่เข้ามาทำงานในสำนักงานผู้แทนของนิติบุคคลต่างประเทศในธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ หรือสำนักงานภูมิภาคบริษัทข้ามชาติ และคนต่างด้าวซึ่งเข้ามาปฏิบัติหน้าที่สื่อมวลชน ที่ได้รับอนุญาตจากทางราชการเพื่อให้บุคคลดังกล่าว ขออนุญาตอยู่ต่อในราชอาณาจักรขอเปลี่ยนประเภทการตรวจลงตราหนังสือเดินทาง จากประเภทนักท่องเที่ยวหรือคนเดินผ่านราชอาณาจักรเป็นประเภทคนอยู่ชั่วคราว ในกรณีที่อยู่ในราชอาณาจักรเกิน 90 วัน และการขอใบอนุญาตทำงาน ขอต่ออายุทำงานและขอรับใบแทนใบอนุญาตทำงานตามกฎหมายว่าด้วยการทำงานบุคคลต่างด้าว

ให้บริการด้านวีซ่าและใบอนุญาตทำงานสำหรับพนักงานต่างชาติดังต่อไปนี้

• บริการยื่นขอวีซ่า ประเภทธุรกิจ 3 เดือน (Non B Visa)
• บริการยื่นขอหรือต่ออายุ วีซ่า ประเภทธุรกิจ 1 ปี
• บริการยื่นขอหรือต่ออายุ วีซ่าประเภทติดตามครอบครัว (O-Visa)
• บริการยื่นรายงานตัว 90 วัน• บริการเปลี่ยนเล่มหนังสือเดินทาง
• บริการยื่นขอหรือต่ออายุ ใบอนุญาตทำงานแก่คนต่างด้าว
• บริการแก้ไขหรือคืน ใบอนุญาตทำงานของคนต่างด้าว
• บริการขอตำแหน่งและบรรจุ คนต่างด้าวเข้าทำงาน (สำหรับบริษัทที่ได้รับบัตรส่งเสริมการลงทุน)
• บริการเปลี่ยนแปลงข้อมูลหรือแจ้งออกจากตำแหน่งหน้าที่ของคนต่างด้าว (สำหรับบริษัทที่ได้รับบัตรส่งเสริมการลงทุน)
• บริการจดทะเบียนบริษัทชาวต่างชาติ
• บริการจดทะเบียนเลิก
• แก้ไขเปลี่ยนแปลง ที่อยู่,ย้ายสถานประกอบการทำงานของบุคคลต่างชาติ


ขอบเขตของงานบริการ
1. จดทะเบียนจัดตั้งบริษัท จัดตั้งห้างหุ้นส่วนจำกัด จัดตั้งคณะบุคคล และจดทะเบียนพาณิชย์
2. จดทะเบียนแก้ไข นิติบุคคล ในเรื่องต่างๆ เช่น แก้ไขเปลี่ยนแปลงที่ตั้งสำนักงานใหญ่หรือสาขา เปลี่ยนแปลงอำนาจกรรมการ เพิ่มทุน ลดทุน ฯ
3. จดทะเบียนเลิกบริษัท ห้างหุ้นส่วนจำกัด และดำเนินการชำระบัญชี
4. จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ
5. ขอมีเลขบัตรประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของนิติบุคคล คณะบุคคล
6. จดเปลี่ยนแปลงในเรื่องต่างๆ ต่อกรมสรรพากร
7. จดเครื่องหมายการค้า,ขอใบอนุญาต สุรา,บุหรี่
8. ขึ้นทะเบียนประกันสังคมนายจ้าง ลูกจ้าง และแจ้งการเปลี่ยนแปลงต่างๆ
 
Powered by MakeWebEasy.com
This website uses cookies for best user experience, to find out more you can go to our Privacy Policy  and  Cookies Policy