บัตรส่งเสริมการลงทุน (BOI)

Last updated: 7 พ.ค. 2564  |  9226 จำนวนผู้เข้าชม  | 

บัตรส่งเสริมการลงทุน (BOI)

บัตรส่งเสริมการลงทุน (BOI)

       ให้คำปรึกษาการขอสิทธิพิเศษทางภาษี (บีโอไอ) กิจการทุกประเภท เพื่อยกเว้นภาษี โดยเฉพาะ "กิจการประเภทซอฟต์แวร์" เป็นกิจการที่ BOI ให้ความสำคัญเป็นพิเศษ โดยเพิ่มสิทธิประโยชน์ทางภาษีพิเศษเพื่อส่งเสริม สนับสนุน กิจการซอฟต์แวร์ ให้ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 8 ปี และไม่กำหนดจำนวนเงินของการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล(ตามเงื่อนไขของโครงการ)

       ธุรกิจที่จะได้รับการส่งเสริมการลงทุนนั้น ต้องเป็นกิจการที่สำคัญและเป็นประโยชน์ในด้านเศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคงของประเทศ กิจการผลิตเพื่อการส่งออก กิจการที่ใช้ทุนแรงงานหรือบริการในอัตราที่สูง หรือกิจการที่ใช้ผลผลิตทางการเกษตร หรือทรัพยากรธรรมชาติเป็นวัตถุดิบ และกิจการนั้นยังไม่มีในราชอาณาจักร หรือมีแต่ไม่เพียงพอ หรือมีกรรมวิธีที่ไม่ทันสมัย

นโยบายส่งเสริมการลงทุน
เพื่อบรรเทาภาระด้านการคลังของรัฐบาล และเพื่อให้สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน และแนวโน้มในอนาคต คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนจึงได้กำหนดนโยบายส่งเสริมการลงทุน ดังนี้

1. เพิ่มประสิทธิภาพและความคุ้มค่าในการใช้สิทธิและประโยชน์ภาษีอากร โดยให้สิทธิและประโยชน์แก่โครงการที่มีผลประโยชน์ต่อเศรษฐกิจอย่างแท้จริง ใช้หลักการบริหารและการจัดการองค์กรที่ดี (Good Governance) ในการให้สิทธิและประโยชน์ด้านภาษีอากรโดยกำหนดให้ผู้ได้รับการส่งเสริม ต้องรายงานผลการดำเนินงานของโครงการที่ได้รับการส่งเสริม เพื่อให้สำนักงานได้ตรวจสอบ ก่อนใช้สิทธิและประโยชน์ภาษีเงินได้นิติบุคคลในปีนั้นๆ
2. สนับสนุนให้อุตสาหกรรมพัฒนาระบบคุณภาพ และมาตรฐานการผลิตเพื่อแข่งขันในตลาดโลก โดยกำหนดให้ผู้ได้รับการส่งเสริมทุกรายที่มีโครงการลงทุนตั้งแต่ 10 ล้านบาทขึ้นไป (ไม่รวมค่าที่ดินหรือทุนหมุนเวียน) ต้องดำเนินการให้ได้รับใบรับรองระบบคุณภาพตามมาตรฐาน ISO 9000 หรือมาตรฐานสากลอื่นที่เทียบเท่า
3. ปรับมาตรการส่งเสริมการลงทุนให้สอดคล้องกับข้อตกลงด้านการค้า และการลงทุนระหว่างประเทศโดยการยกเลิกเงื่อนไขการส่งออกและการใช้ชิ้นส่วนในประเทศ
4. สนับสนุนการลงทุนเป็นพิเศษในภูมิภาค หรือท้องถิ่นที่มีรายได้ต่ำ และมีสิ่งเอื้ออำนวยต่อการลงทุนน้อย โดยให้สิทธิและประโยชน์ด้านภาษีอากรสูงสุด
5. ให้ความสำคัญกับการส่งเสริมอุตสาหกรรมขนาดกลาง และขนาดย่อม โดยกำหนดเงื่อนไขเงินลงทุนขั้นต่ำของโครงการที่ได้รับการส่งเสริมเพียง 500,000 บาท (ไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียน) สำหรับกิจการตามประกาศคณะกรรมการที่ 1/2553 และไม่น้อยกว่า 1 ล้านบาท (ไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียน) สำหรับกิจการอื่น
6. ให้ความสำคัญแก่กิจการเกษตรกรรมและผลิตผลจากการเกษตร กิจการที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเทคโนโลยีและทรัพยากรมนุษย์ กิจการสาธารณูปโภค สาธารณูปการและบริการพื้นฐาน กิจการป้องกันและรักษาสิ่งแวดล้อมและอุตสาหกรรมเป้าหมาย



บัญชีประเภทกิจการที่ให้การส่งเสริมการลงทุน
หมวด 1 เกษตรกรรมและผลิตผลจากการเกษตร
หมวด 2 เหมืองแร่ เซรามิกส์ และโลหะขั้นมูลฐาน
หมวด 3 อุตสาหกรรมเบา
หมวด 4 ผลิตภัณฑ์โลหะ เครื่องจักร และอุปกรณ์ขนส่ง
หมวด 5 อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า
หมวด 6 เคมีภัณฑ์ กระดาษ และพลาสติก
หมวด 7 กิจการบริการและสาธารณูปโภค

สิทธิประโยชน์
สิทธิประโยชน์ทางภาษีอากร
• ยกเว้น/ลดหย่อนอากรขาเข้าสำหรับเครื่องจักร (มาตรา 28/29)
• ลดหย่อนอากรขาเข้าสำหรับวัตถุดิบหรือวัสดุจำเป็น (มาตรา 30)
• ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลและเงินปันผล (มาตรา 31 และ 34)
• ลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลร้อยละ 50 (มาตรา 35 (1) )
• ให้หักค่าขนส่ง ค่าไฟฟ้า และค่าน้ำประปา เป็นสองเท่า (มาตรา 35 (2) )
• ให้หักค่าติดตั้งหรือก่อสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกเพิ่มขึ้นร้อยละ 25 (มาตรา 35 (3) )
• ยกเว้นอากรขาเข้าวัตถุดิบหรือวัสดุจำเป็นสำหรับการผลิตเพื่อการส่งออก (มาตรา 36)

สิทธิประโยชน์ที่ไม่เกี่ยวกับภาษีอากร
• อนุญาตให้นำคนต่างด้าวเข้ามาเพื่อศึกษาลู่ทางการลงทุน (มาตรา 24)
• อนุญาตให้นำช่างฝีมือ และผู้ชำนาญการเข้ามาทำงานในกิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน (มาตรา 25 และ 26)
• อนุญาตให้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดิน (มาตรา 27)• อนุญาตให้ส่งออกซึ่งเงินตราต่างประเทศ (มาตรา 37)

หลักประกัน
• รัฐจะไม่โอนกิจการของผู้ที่ได้รับการส่งเสริมมาเป็นของรัฐ (มาตรา 43)
• รัฐจะไม่ประกอบกิจการขึ้นใหม่แข่งขัน (มาตรา 44)
• รัฐจะไม่ผูกขาดการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชนิดเดียวกันกับผู้ที่ได้รับการส่งเสริม (มาตรา 45)
• รัฐจะไม่ควบคุมราคาผลิตภัณฑ์ของผู้ที่ได้รับการส่งเสริม (มาตรา 46)
• รัฐจะอนุญาตให้ส่งออกเสมอไป (มาตรา 47)
• รัฐจะไม่อนุญาตให้ส่วนราชการ องค์การของรัฐบาล หรือรัฐวิสาหกิจ นำผลิตภัณฑ์ชนิดเดียวกับที่ได้รับการส่งเสริมเข้ามาโดยได้รับยกเว้นอากรขาเข้า (มาตรา 48)

การคุ้มครอง (พิจารณาตามความเหมาะสม)
• การเรียกเก็บค่าธรรมเนียมพิเศษขาเข้าสำหรับการนำเข้าผลิตภัณฑ์ชนิดเดียวกับที่ผลิตได้ในประเทศ แต่ไม่เกินร้อยละ 50 ของราคารวมค่าประกันภัย และค่าขนส่ง โดยใช้บังคับไม่เกินคราวละ 1 ปี (มาตรา 49)
• ในกรณีที่เห็นว่ามาตรา 49 ไม่เพียงพอสำหรับการให้ความคุ้มครอง อาจเพิ่มมาตรการ ห้ามการนำเข้าผลิตภัณฑ์ชนิดเดียวกับที่ผลิตได้ในประเทศ (มาตรา 50)
• ประธานกรรมการมีอำนาจสั่งช่วยเหลือ หากผู้ได้รับการส่งเสริมประสบปัญหาหรืออุปสรรคในการดำเนินกิจการ (มาตรา 51)
• ประธานกรรมการมีอำนาจสั่งแก้ไขกรณีที่โครงสร้างอัตรา หรือวิธีการจัดเก็บภาษีอากร ค่าบริการหรือค่าธรรมเนียม เป็นอุปสรรคต่อกิจการของผู้ได้รับการส่งเสริมการลงทุน (มาตรา 52)

ขอบเขตของงานบริการ
• การขออนุมัติบัญชีรายการวัตถุดิบ
• การขออนุมัติบัญชีรายการเครื่องจักร
• การขออนุมัติสูตรการผลิต
• การขอนำเข้าวัตถุดิบ
• การขอนำเข้าเครื่องจักร
• การขอนำเข้าเครื่องจักรย้อนหลัง
• การขอส่งคืนวัตถุดิบ
• การขอส่งคืน ส่งซ่อม เครื่องจักร
• การขออนุมัติตัดบัญชีวัตถุดิบ
• การขออนุมัติตัดบัญชีเครื่องจักร
• การขอจำหน่ายวัตถุดิบในประเทศ
• การขออนุมัติเกี่ยวกับส่วนสูญเสีย ( Scrap ) ทั้งส่งออก และ ทำลายในประเทศ
• การขอ เพิ่ม แก้ไข ชื่อและปริมาณของบัญชีรายการวัตถุดิบ และ เครื่องจักร
• รับคีย์ข้อมูลทุกอย่างของ BOI เพื่อยื่นกับทาง IC และเรื่องอื่นๆๆที่เกี่ยวข้องกับ BOI ทั้งหมด
 

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้